Search

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เรื่องน่ารู้'มะลิ'ดอกไม้สัญลักษณ์วันแม่ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

sisofsains.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

ในเดือนสิงหาคมของทุกปี รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ “ดอกมะลิ” เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ ด้วยดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูก นอกจากนี้ดอกมะลิยังมีกลิ่นหอมนานและออกดอกตลอดทั้งปี และคนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยเพื่อบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิจึงเปรียบเสมือนการบูชาพระคุณของ “แม่”

ด้วยกลิ่นหอมเย็นและสีขาวบริสุทธิ์ของดอกมะลิ เชื่อกันว่าบ้านใดที่ปลูกต้นมะลิ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้าน จะช่วยเสริมให้คนในบ้านได้รับความปรารถนาดี เป็นที่รัก และเป็นที่คิดถึงของคนทั่วไป นอกเหนือจากกลิ่นหอมของดอกมะลิ ที่นำไปใช้ร้อยพวงมาลัย แต่ยังเป็นดอกไม้ที่มีประโยชน์ เพราะมีสรรพคุณทางยาในการช่วยบำบัดและรักษาอาการต่างๆ ได้

ดอกมะลิ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นทวีปเอเชียและคาบสมุทรอาระเบีย เช่น อินเดีย ไทย มาเลเซีย พม่า คูเวต โอมาน เป็นต้น พืชสกุลนี้มี 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ 45 ชนิด สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นเล็กกลม สูงประมาณ 2 เมตร มีผิวเปลือกลำต้นเป็นสีขาวแตกสะเก็ดเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น ส่วนกิ่งอ่อนๆ มีขนสั้น มีสีขาว ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันมีลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันออกสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ปลายกิ่งมีสีขาวสะอาด มีกลิ่นหอมเย็น แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอด มีสีเขียวอมเหลืองอ่อนๆ ปลายแยกเป็น 8-10 เส้น กลีบดอกมีสีขาวประมาณ 6-10 กลีบเรียงเป็นวงกลม หรืออาจซ้อนกันเป็นชั้นแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของมะลิที่มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน

ดอกมะลิถือเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งส่วนของดอก ใบ และลำต้น นอกจากจะมีกลิ่นหอมแล้ว บางส่วนยังสามารถเอามาสกัดทำยารักษาโรคได้อีกมากมาย ทั้งด้านสุคนธบำบัดโดยการใช้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยของดอกมะลิในการกระตุ้นระบบประสาท สำหรับผู้ที่มีภาวะจิตใจอ่อนล้า อ่อนเพลีย รวมทั้งยังมีสรรพคุณต่างๆ อีกมากมาย ได้แก่

1.แก้ปวดหัว : ดอกสดตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดหัว หรือใช้ส่วนรากสดประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหัวก็ได้

2.รักษาอาการผิวไหม้จากแดดและผื่น : ใบสดมาตำใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แผลโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้ฟกช้ำ และบาดแผล หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ แล้วนำไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ส่วนของดอกสดมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคันได้อีกด้วย

3.รักษาอาการหงุดหงิด : ดอกมะลิมีรสหอมเย็น อีกทั้งยังมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น ความชุ่มชื่นใจนี้จะช่วยรักษาอาการหงุดหงิดได้ดีทีเดียว

4.แก้ปัญหาเรื่องทางเพศ : ดอกมะลิสามารถใช้เป็นยาชูกำลังได้ และยังสามารถช่วยให้กระชุ่มกระชวย

5.แก้อาการอ่อนเพลียจากแดด : ดอกมะลิสามารถแก้อาการอ่อนเพลียได้ นอกจากนี้หากนำดอกมะลิผสมยาหอมที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ จะทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ดอกมะลิ ยังสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หากนำน้ำลอยดอกมะลิไปผสมอาหาร จะช่วยให้มีกลิ่นหอม อีกทั้ง มะลิก็ยังเป็นส่วนผสมสำหรับแต่งกลิ่น หรือใช้อบกลิ่นขนมให้หอม ใช้อบผ้า และแต่งกลิ่นใบชา แนะนำว่าไม่ควรรับประทานชาดอกมะลิติดต่อกันเป็นประจำ เพราะจะส่งผลต่อความจำ หรือน้ำมันหอมระเหยสกัดจากดอกมะลิ ยังใช้ปรุงแต่งเครื่องประทินผิว และเครื่องสำอาง คุณสมบัติที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิยังมีฤทธิ์ไล่หมัดได้อีกด้วย

ที่มา : https://ift.tt/31sF9ew

https://ift.tt/2DyO5XN

https://www.disthai.com

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)




August 09, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/33H77FW

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เรื่องน่ารู้'มะลิ'ดอกไม้สัญลักษณ์วันแม่ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/2wcicAM


Bagikan Berita Ini

0 Response to "วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เรื่องน่ารู้'มะลิ'ดอกไม้สัญลักษณ์วันแม่ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.